เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต 1. นิสสยวรรค 1. กิมัตถิยสูตร
“อานนท์ ปราโมทย์มีปีติ(ความอิ่มใจ)เป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์”
“ปีติมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ พระพุทธเจ้าข้า”
“อานนท์ ปีติมีปัสสัทธิ(ความสงบกายสงบใจ)เป็นผล มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์”
“ปัสสัทธิมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ พระพุทธเจ้าข้า”
“อานนท์ ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์”
“สุขมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ พระพุทธเจ้าข้า”
“อานนท์ สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์”
“สมาธิมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ พระพุทธเจ้าข้า”
“อานนท์ สมาธิมียถาภูตญาณทัสสนะ(ความรู้ความเห็นตามความเป็นจริง)
เป็นผล มียถาภูตญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์”
“ยถาภูตญาณทัสสนะมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ พระพุทธเจ้าข้า”
“อานนท์ ยถาภูตญาณทัสสนะมีนิพพิทา(ความเบื่อหน่าย)เป็นผล มีนิพพิทา
เป็นอานิสงส์”
“นิพพิทามีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ พระพุทธเจ้าข้า”
“อานนท์ นิพพิทามีวิราคะ(ความคลายกำหนัด)เป็นผล มีวิราคะเป็นอานิสงส์”
“วิราคะมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ พระพุทธเจ้าข้า”
“อานนท์ วิราคะมีวิมุตติญาณทัสสนะ(ความรู้ความเห็นในวิมุตติ)เป็นผล มี
วิมุตติญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์
อานนท์ ศีลที่เป็นกุศลมีอวิปปฏิสารเป็นผล มีอวิปปฏิสารเป็นอานิสงส์
อวิปปฏิสารมีปราโมทย์เป็นผล มีปราโมทย์เป็นอานิสงส์ ปราโมทย์มีปีติเป็นผล
มีปีติเป็นอานิสงส์ ปีติมีปัสสัทธิเป็นผล มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์ ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล
มีสุขเป็นอานิสงส์ สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์ สมาธิมียถาภูตญาณ-
ทัสสนะเป็นผล มียถาภูตญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ ยถาภูตญาณทัสสนะมีนิพพิทา
เป็นผล มีนิพพิทาเป็นอานิสงส์ นิพพิทามีวิราคะเป็นผล มีวิราคะเป็นอานิสงส์
วิราคะมีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นผล มีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ อานนท์ ศีลที่
เป็นกุศล ย่อมทำอรหัตตผลให้บริบูรณ์โดยลำดับ อย่างนี้แล”
กิมัตถิยสูตรที่ 1 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :390 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต 1. นิสสยวรรค 2. เจตนากรณียสูตร
2. เจตนากรณียสูตร
ว่าด้วยกรรมที่ไม่ต้องทำด้วยความตั้งใจ
[2] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล
ไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขออวิปปฏิสารจงเกิดขึ้นแก่เรา’ การที่อวิปปฏิสารเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้
มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีลนี้ เป็นธรรมดา1
บุคคลผู้มีอวิปปฏิสารไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอปราโมทย์จงเกิดขึ้นแก่เรา’ การที่
ปราโมทย์เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีอวิปปฏิสารนี้ เป็นธรรมดา
บุคคลผู้มีปราโมทย์ไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอปีติจงเกิดขึ้นแก่เรา’ การที่ปีติเกิดขึ้นแก่
บุคคลผู้มีปราโมทย์นี้ เป็นธรรมดา
บุคคลผู้มีใจประกอบด้วยปีติไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอกายของเราจงสงบ’ การที่
บุคคลผู้มีใจประกอบด้วยปีติมีกายสงบนี้ เป็นธรรมดา
บุคคลผู้มีกายสงบไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอเราจงเสวยสุข’ การที่บุคคลผู้มีกายสงบ
เสวยสุขนี้ เป็นธรรมดา
บุคคลผู้มีสุขไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอจิตของเราจงเป็นสมาธิ’ การที่บุคคลผู้มีสุขมีจิต
เป็นสมาธินี้ เป็นธรรมดา
บุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอเราจงรู้เห็นตามความเป็นจริง’ การที่
บุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิรู้เห็นตามความเป็นจริงนี้ เป็นธรรมดา
บุคคลผู้รู้เห็นตามความเป็นจริงไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอเราจงเบื่อหน่าย’ การที่
บุคคลผู้รู้เห็นตามความเป็นจริงเบื่อหน่ายนี้ เป็นธรรมดา
บุคคลผู้เบื่อหน่ายไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอเราจงคลายกำหนัด’ การที่บุคคลผู้เบื่อ
หน่ายคลายกำหนัดนี้ เป็นธรรมดา
บุคคลผู้คลายกำหนัดไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอเราจงทำให้แจ้งวิมุตติญาณทัสสนะ’
การที่บุคคลผู้คลายกำหนัดแล้วทำให้แจ้งวิมุตติญาณทัสสนะนี้ เป็นธรรมดา

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถที่ 2 ข้อ 2 (เจตนากรณียสูตร) ทสกนิบาต หน้า 3 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :391 }